Skip to main content
x
 

ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการร้องทุกข์ (7) (ผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัย)

 
          “ก.พ.ค. ขอบอก” ได้บอกกล่าวข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการร้องทุกข์ ผ่านมา 2 หัวข้อใหญ่แล้ว คือ คุณสมบัติของผู้ร้องทุกข์ และ เหตุแห่งการร้องทุกข์ สำหรับครั้งนี้จะขอบอกกล่าวข้อควรคำนึงเรื่องของผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัย
          ผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ นั้น มาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง และ
วรรคสอง ระบุแยกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ
          1. การร้องทุกขที่เหตุเกิดจากผูบังคับบัญชาใหร้องทุกขตอผูบังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับ
          2. การร้องทุกขที่เหตุเกิดจากหัวหน้าสวนราชการระดับกรมที่อยูในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงตอนายกรัฐมนตรีหรือตอรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือ นายกรัฐมนตรี ใหร้องทุกขตอ ก.พ.ค.
          โดยในส่วนของการร้องทุกข์ตอผูบังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับ นั้น จะร้องทุกข์อย่างไร กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์  พ.ศ. 2551 ข้อ 20 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้
          1. ในกรณีที่เหตุแหงการร้องทุกขเกิดจากผูบังคับบัญชาในราชการบริหารสวนภูมิภาคที่ต่ำกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ใหรองทุกขตอผูวาราชการจังหวัด และให้ผู้วาราชการจังหวัดเปนผูมีอํานาจวินิจฉัยร้องทุกข์
          2. ในกรณีที่เหตุแหงการร้องทุกขเกิดจากผูบังคับบัญชาในราชการบริหารสวนกลางที่ต่ำกวาอธิบดี ใหรองทุกขตออธิบดี และใหอธิบดีเปนผูมีอํานาจวินิจฉัยร้องทุกข
          3. ในกรณีที่เหตุแหงการร้องทุกขเกิดจากผูวาราชการจังหวัดหรืออธิบดี ใหรองทุกขตอปลัดกระทรวงซึ่งเปนผูบังคับบัญชาของผูรองทุกข และใหปลัดกระทรวงเปนผูมีอํานาจวินิจฉัยรองทุกข
          ดังนั้น หากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยากจะใช้สิทธิร้องทุกข์นี้ก็ควรต้องคำนึงถึงผู้มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นด้วยว่า เป็นผู้มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการพิจารณาและไม่เสียสิทธิในการยื่นคำร้องทุกข์ต่อไป
 
(ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คอลัมน์ "ก.พ.ค. ขอบอก" ฉบับวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2559)

 

วันที่